บ้านครูโน้ต - อบรมคอมพิวเตอร์สำหรับครู วิทยฐานะ สื่อการสอน นวัตกรรมการศึกษา
วิทยฐานะ, สื่อการสอน, ผลงานทางวิชาการ,ครูชำนาญการ,ครูชำนาญการพิเศษ,ครูเชี่ยวชาญ,ครูเชี่ยวชาญพิเศษ,เงินเดือน,เงินเดือนครู,แท่งเงินเดือน

วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ


ในการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2556 ซึ่งมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน มีนโยบายที่จะพิจารณาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านหลักสูตรการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา แต่ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินที่ ก.ค.ศ.กำหนด จึงได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเยียวยาให้มีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
 
1.คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ คือ
          (1) เป็นผู้ผ่านการพัฒนาตามหลักสูตรการพัฒนาให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 0206.4/0164-0169 ลงวันที่ 23 มกราคม 2552 แต่เสนอผลงานทางวิชาการแล้วไม่ผ่านการประเมิน
          (2) ปัจจุบันต้องดำรงตำแหน่งและปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่งและวิทยฐานะตามที่ได้ขอรับการประเมินไว้เดิม
          (3) เป็นผู้สมัครใจเข้ารับการพัฒนา และยินดีปฏิบัติตามเงื่อนไขที่หลักเกณฑ์และวิธีการนี้กำหนด
 
2.ให้ยื่นขอมีหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ได้เพียงครั้งเดียว โดยให้ยื่นคำร้องต่อผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และส่งถึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ภายในวันที่ 1-20 เมษายน
 
3.หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ให้มีการพัฒนาและประเมิน ดังนี้
          (1) การพัฒนาตามหลักสูตรที่ ก.ค.ศ. กำหนด คะแนนเต็ม 200 คะแนน
          (2) การพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
          (3) การรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
          (4) ผลงานทางวิชาการ คะแนนเต็ม 100 คะแนน
 
4.การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้ดำเนินการ ดังนี้
          (1) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันการพลศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน สำนักงาน กศน. ให้ส่วนราชการต้นสังกัดเป็นผู้ดำเนินการพัฒนา
          (2) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ในแต่ละจังหวัด หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีเขตเดียวในจังหวัดนั้น เป็นผู้ดำเนินการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดนั้นๆ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาดังกล่าวข้างต้นอาจดำเนินการร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาใกล้เคียงได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น
          (3) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ให้แต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอาจดำเนินการร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาใกล้เคียงได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น
 
นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดในการดำเนินการพัฒนา และวิธีการในทางปฏิบัติอีกหลายประการซึ่งจะได้นำเสนอในสัปดาห์หน้า
 
จรุงรัตน์ เคารพรัตน์
ผอ.ภารกิจระบบตำแหน่งและวิทยฐานะที่ 1
 

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน หนังสือ จากปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ




ดาวน์โหลด หนังสือ 6 เล่ม
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน
แบ่งเป็น 13 ไฟล์ เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วนำมารวมกัน จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 202 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง

  • หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 202 หน้า แบ่งเป็น 13 ไฟล์ เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วนำมารวมกัน จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 202 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง
สิ่งที่แนบมาด้วย:
ปกหนังสือ
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 1 หน้า 1-15
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 2 หน้า 16-31
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 3 หน้า 32-47
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 4 หน้า 48-63
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 5 หน้า 65-79
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 6 หน้า 80-95
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 7หน้า 96-111
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 8 หน้า 112-127
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 9 หน้า128-143
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 10 144-159
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 11160-175
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 12 176-191
หนังสือ การ์ตูนเศรษฐกิจพอเพียง นำสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน part 13 หน้า192-ปกหลัง


  • หนังสือ จากปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 178 หน้า เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วจะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 178 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง
สิ่งที่แนบมาด้วย:
ปกหนังสือ
หนังสือ จากปรัญญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 178 หน้า


  • หนังสือ เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 54 หน้า เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วจะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 54 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง
สิ่งที่แนบมาด้วย:
ปกหนังสือ
หนังสือ เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 54 หน้า


  • หนังสือ เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 40 หน้า เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 40 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง
สิ่งที่แนบมาด้วย:
ปกหนังสือ
หนังสือ เรียนรู้หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 40หน้า


  • หนังสือ การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 150 หน้า แบ่งเป็น 3 ไฟล์ เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วนำมารวมกัน จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 150 หน้า พร้อมปกหน้า/หลัง
สิ่งที่แนบมาด้วย:
ปกหนังสือ
หนังสือ การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว part1 หน้า 1-48
หนังสือ การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว part2 หน้า 49-98
หนังสือ การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว part 3 หน้า99-150


  • หนังสือ พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เป็น ไฟล์แบบ .pdf จำนวน 312 หน้า แบ่งเป็น 3 ไฟล์ เมื่อดาวน์โหลด หรือเชฟไฟล์ แล้วนำมารวมกัน จะได้หนังสือ 1 เล่ม แบบ 4 สี หนา 312 หน้า พร้อมปกหน้าหลัง
สิ่งที่แนบมาด้วย:
ภาพปกหนังสือ
หนังสือ พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา part 1 หน้า 1-100
หนังสือ พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา part 2 หน้า 101-204
หนังสือ พระมหากษัตริย์นักพัฒนา เพื่อประโยชน์สุขสู่ปวงประชา part 3 หน้า 205-303


ที่มา : สพฐ. http://www.obec.go.th/node/17951


วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมการผลิตและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ประชาสัมพันธ์โครงการส่งเสริมการผลิตและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ (ระบบ Online) ประจำปี ๒๕๕๕

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไดจัดทําโครงการสงเสริมการผลิตและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส ๘ กลุมสาระการเรียนรู (ระบบ Online)  เพื่อเปนการสงเสริม สนับสนุนใหครูผูสอน อาจารย และบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไดมีเวทีสําหรับแสดงผลงานในการผลิตและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส ๘ กลุมสาระการเรียนรู้ ซึ่งในปนี้เปนการสงเสริมใหมีการผลิตและพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส ประเภท เกมการศึกษาประกอบการเรียนการสอน ๘ กลุมสาระการเรียนรู ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปที่ ๑-๖)  สําหรับใชประกอบการเรียนการสอนไดอยางมีคุณภาพและหลากหลาย โดยมุงหวังใหผูเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
ผลงานเกมการศึกษาฯ ที่ผานการตัดสินจากคณะกรรมการ ตามเกณฑที่กําหนดใหไดรับรางวัลจะตองไดรับการพัฒนาให
สมบูรณ มีคุณภาพ ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ โดยไดรับเกียรติบัตรและเงินรางวัล ดังนี้

   -  ระดับ ทอง              จํานวน  ๔๐,๐๐๐  บาท    
   -  ระดับ เงิน               จํานวน   ๓๐,๐๐๐  บาท    
   -  ระดับ ทองแดง      จํานวน   ๒๐,๐๐๐  บาท    
   -  ระดับ ชมเชย        จํานวน   ๑๐,๐๐๐  บาท 
 หมดเขตวันที่ 31 พฤษภาคม 2555

บ้านครูโน้ต เปิดอบรมคอร์สการสร้างเกมเพื่อการศึกษา (ทุกวันอาทิตย์) โทร. สอบถามรายละเอียด 086-5816018

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุป 55 รางวัล ที่สามารถยื่นขอให้มีและเลื่อนวิทยฐานเชิงประจักษ์

นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า 
จากการประชุมคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมเห็นชอบเรื่องการรับรองรางวัลสูงสุดระดับชาติ เพื่อนำไปใช้ประกอบการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โดยได้อนุมัติให้รางวัลสูงสุดระดับชาติ จำนวน 48 รางวัล แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สถาบันการพลศึกษา และสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน

สำหรับรางวัลทั้ง 48 รางวัล ที่สามารถยื่นขอให้มีและเลื่อนวิทยฐานเชิงประจักษ์ มีดังนี้

  1. รางวัลพระราชทานประเภทสถานศึกษา
  2. รางวัลครูผู้มีอุดมการณ์ตามรอยเกียรติยศ ครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู 
  3. สื่อการสอนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ 
  4. สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่ ที่มีผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น 
  5. โครงงานคุณธรรม "เยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง"
  6. รางวัลศิลปหัตถกรรมนักเรียน(เหรียญทองระดับประเทศ)
  7. โครงการประกวดโรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมจริยธรรม
  8. การแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ 
  9. ครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
  10. รางวัลคุรุสภาเข็มทองคำ "คุรุสภาสดุดี" 
  11. ครูภาษาไทยดีเด่น 
  12. ครูภาษาฝรั่งเศสดีเด่น 
  13. รางวัลประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน 
  14. นักศึกษาทุกประเภทที่ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน 
  15. ผู้มีผลงานดีเด่น(มูลนิธิสมาน-คุณหญิงเบญจา แสงมลิ) 
  16. ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น 
  17. ครูภูมิปัญญาไทย 
  18. ครูบุคลากรทางการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา 
  19. ผู้บริหารการศึกษาดีเด่น 
  20. สถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาดีเด่น 
  21. ครูผู้สอนดีเด่น 
  22. โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต 
  23. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ
  24. รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติสังคมแห่งการเรียนรู้ต้นแบบ 
  25. ผลงานวิจัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
  26. บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษาศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 
  27. ห้องสมุดมีชีวิตประชาชนยอดเยี่ยมระดับประเทศ 
  28. เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ 1 
  29. ห้องสมุดประชาชนยอดเยี่ยมระดับประเทศ 
  30. นักประดิษฐ์คิดค้นวิจัยแหล่งเรียนรู้
  31. รางวัลพระราชทาน "เสมาธรรมจักร"
  32. รางวัลพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติชั้นที่ 1
  33. รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน
  34. รางวัลบุคคลดีเด่นด้านศิลปะสถาปัตยกรรม
  35. รางวัลราชมงคลสรรเสริญผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะ 
  36. การจัดสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทาง
  37. รางวัลประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับชาติ
  38. รางวัลการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับชาติ
  39. รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เอสโซ่ระดับชาติ
  40. รางวัลการแข่งขัน Cement and Concrete Innovation ระดับชาติ
  41. รางวัลแข่งขันฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง
  42. รางวัลเขียนแผนธุรกิจ(โครงการอาชีวสร้างสรรค์แปรฝันสู่ธุรกิจ)
  43. รางวัลกรุงไทยยุววานิช
  44. รางวัลการแข่งขันทักษะสมรรถนะด้านเทคนิคอาชีวศึกษา-อีซูซุ ระดับชาติ
  45. รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ ต่อกระทรวงวัฒนธรรมด้านองค์กรที่ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
  46. รางวัลโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับประเทศ 
  47. รางวัลสุดยอดส้วมระดับประเทศ (ชนะเลิศอันดับ 1 )
  48. รางวัลองค์กรเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย และรางวัลพระราชทาน
  49. โครงการเพชรยอดมงกุฎถ้วยรางวัลพระราชทาน
  50. รางวัลยุวกาชาดดีเด่น (ระดับประเทศ)
  51. รางวัลหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม
  52. รางวัลโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง
  53. รางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
  54. เกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ชั้นที่ 1
  55. รางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภา (ดีเด่นระดับประเทศ)

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

789ร.ร.สพฐ.มีไฟเบอร์ออฟติกใช้

ภาพ : ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ศธ.ประชุมร่วมสำนักพิมพ์เอกชนเตรียมเนื้อหาบรรจุในแท็บเล็ต พร้อมสรุปตัวเลข ร.ร.ของสพฐ.รับแท็บเล็ต ทั้งหมด 24,098 โรง แต่มีไฟเบอร์ออฟติกผ่านหน้าร.ร.แค่ 789 โรง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 55 ที่กระทรวงศึกษาธิการ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสำนักพิมพ์เอกชน จำนวน 14 สำนักพิมพ์ อาทิ บริษัท MCGRAWHILL , สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด , บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น , บริษัท อักษรเจริญทัศน์ (อจท.) จำกัด เป็นต้น เพื่อหารือเกี่ยวกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่จะบรรจุในคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ว่า ได้เชิญสำนักพิมพ์มาหารือเพื่อสอบถามถึงความพร้อมในการเตรียมเนื้อหาที่จะบรรจุลงในแท็บเล็ต เพราะขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เตรียมพร้อมเนื้อหาหลักสูตรของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในรูปแบบ Learning Object และ e-book เพื่อบรรจุลงในแท็บเล็ต ใช้พื้นที่ความจำไปแล้ว 4 กิ๊กกะไบต์ จาก 8 กิ๊กกะไบต์

อย่างไรก็ตาม ระยะยาวนโยบาย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการให้ทุกชั้นเรียนได้ใช้แท็บเล็ต เท่ากับว่าในปีการศึกษา 2555 ระดับชั้นอื่น ๆ ตั้งแต่ ป.2-6 และม.1-6 ต้องมีแท็บเล็ตใช้ด้วย โดยเฉพาะระดับมัธยมนั้นเนื้อหาสาระการเรียนมีมากกว่าระดับประถมคาดว่าต้องใช้หน่วยความจำประมาณ 16 กิ๊กกะไบต์ ซึ่ง สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ระบุว่า เนื้อหาสาระที่จะบรรจุแท็บเล็ตระดับประถมศึกษานั้นได้เตรียมพร้อมเรียบร้อยแล้ว ส่วนระดับมัธยมนั้นจะเสร็จเรียบร้อยในเดือนมีนาคมแน่นอน

ทั้งนี้ ได้สอบถามความเห็นเพิ่มเติมเรื่องของลิขสิทธิ์และวิธีการจัดซื้อว่าควรดำเนินการเช่นไร ซึ่งได้ ศธ.เสนอ 4 แนวทาง คือ .

1. ดำเนินการในรูปแบบทีโออาร์ยื่นซองประกวดราคา
2. ให้ดาวน์โหลดจากเซิร์ฟเวอร์ของสำนักพิมพ์
3. ศธ.ทำเซิร์ฟเวอร์กลางและสำนักพิมพ์นำหลักสูตรมาใส่ไว้เพื่อให้โรงเรียนดาวน์โหลด และ
4. สำนักพิมพ์จัดเก็บข้อมูลลงใน SD Card

โดยจากข้อเสนอเหล่านี้ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่ 2 และ 3 พร้อมกันนี้ได้เสนอให้ ศธ.มีการเตรียมการเรื่องระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ความเห็นที่ตรงกันมากที่สุดตนได้สั่งการให้มีการส่งหนังสือไปยังสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อขอให้เสนอแนวทางหรือแผนที่เหมาะสมกลับมายัง ศธ.ภายในวันศุกร์นี้ จากนั้นจะนำมาสรุปเพื่อนำเสนอ รมว.ศธ. ต่อไป

”สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ตื่นตัวและเตรียมจัดทำหลักสูตรที่พร้อมจะบรรจุในแท็บเล็ตแล้ว ซึ่งหลายแห่งก็รับประกันคุณภาพหลักสูตรที่จะนำมาใช้ รวมทั้งเสนอตัวที่จะช่วยอบรมเตรียมพร้อมให้กับครู ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ด้วยซึ่งจุดนี้ก็สอดคล้องกับแนวทางของ ศธ.ที่จะดำเนินการ นอกจากนี้ ในวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ ที่ ศธ.จะจัดแถลงยุทธศาสตร์ของกระทรวงที่เมืองทองธานี ซึ่งประเด็นสำคัญจะเกี่ยวข้องกับแท็บเล็ตโดยจะเชิญนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานเปิดงาน และในวันดังกล่าวจะเชิญสำนักพิมพ์มาจัดแสดงด้วย”

ปลัด ศธ.กล่าวถึงความคืบหน้าในการสำรวจความพร้อมของสถานศึกษาที่จะได้รับจัดสรรแท็บเล็ตในเดือน พฤษภาคม 2555 นี้ ว่า ขณะนี้ได้จัดแบ่งสถานศึกษาออกเป็น 3 กลุ่มตามความพร้อมซึ่งได้รับรายงานข้อมูลเฉพาะของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า มีโรงเรียนทั้งหมด 24,098 โรง นักเรียนป.1 จำนวน 507,148 คน

แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1. กลุ่มที่มีการติดตั้งระบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) เรียบร้อยจำนวน 789 โรง แต่ ศธ.อาจจะต้องประสานกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อติดตั้งกล่องรับสัญญาณเพิ่มเติมสำหรับรองรับการใช้งานของนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ระยะไกล

2. กลุ่มที่มีการใช้ระบบเอดีเอสแอล (ADSL) จำนวน 6,457 โรง ซึ่งส่วนใหญ่ระบบนี้จะเป็นการเชื่อมต่อทางสายโทรศัพท์และนิยมใช้ในห้องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ศธ.ต้องประสานไอซีทีในการติดตั้งสายเพิ่มเติม และ

3. กลุ่มที่มีการใช้ระบบสัญญาณจานเดียวเทียม หรือ แซทเทิลไลท์ จำนวน 16,652 โรง ซึ่งกลุ่มสนี้ค่อนข้างมีปัญหาในการเชื่อมต่อสัญญาณ อย่างไรก็ตาม เราต้องการข้อมูลของสถานศึกษาทุกสังกัด เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เพื่อจะนำมาจัดวางแผนเพื่อขยายเครือข่ายได้อย่างครอบคลุม

ที่มา ข่าว จาก คมชัดลึก

คัดลอกจาก   http://www.semathong.com

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิทยฐานะใหม่ทำสัญญา



นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ก.ค.ศ.ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ 2 หลักเกณฑ์ คือ

1.มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของผู้ขอรับการประเมิน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนและพิจารณาผลงานทางวิชาการที่ผู้นั้นใช้พัฒนาและแก้ปัญหานักเรียน

2.พิจารณาจากคุณภาพและประโยชน์ของผลงานเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป

โดยทั้ง 2 หลักเกณฑ์ยังมีข้อด้อยที่ควรนำมาแก้ไข เช่น การจ้างทำผลงานทางวิชาการ ครูทิ้งห้องเรียนเพราะมุ่งทำผลงาน ครูได้รับการเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นแต่คุณภาพผู้เรียนต่ำลง เป็นต้น
ศธ.จึงมีนโยบายในการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูฯ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการประเมิน โดยก.ค.ศ.มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ดังนี้

1.ให้ข้าราชการครูฯ เสนอข้อตกลงในการพัฒนางาน ซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงการปฏิบัติงาน และผลที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เป็นต้น ทั้งนี้ จะต้องกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดในการพัฒนาที่ชัดเจน

2.ให้ราชการต้นสังกัดคัดกรองข้าราชการครูฯ ผู้ที่จะเสนอข้อตกลงในการพัฒนางานเช่น กำหนดว่าต้องทำงานในสถานศึกษาที่มีผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หรือคัดกรองจากผู้ที่เสนอโครงการในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เป็นต้น

3.กำหนดให้มีการประเมินคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ กระบวนการและผลที่เกิดจากการทำงาน มุ่งเน้นวิธีการประเมินตามจริง ณ สถานที่ทำงานและกำหนดระยะเวลาในการประเมิน เป็นระยะๆ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ในแต่ละวิทยฐานะดังนี้ วิทยฐานะชำนาญการ ใช้ระยะเวลาประเมิน 2 ปี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป ใช้เวลา 3 ปี

4.เน้นการมีส่วนร่วมในการประเมิน

5.ก.ค.ศ.หรือส่วนราชการที่ก.ค.ศ.มอบหมายจะเป็นผู้ประเมินเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด

            หลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ระหว่างยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่งคาดว่าการประเมินวิทยฐานะตามแนวทางนี้ จะสามารถแก้ปัญหาที่ผ่านมาได้และจะเป็นปัจจัยในการเสริมคุณภาพการศึกษา



ที่มา : ข่าวสด ฉบับวันที่ 19 ม.ค. 2555
คัดลอกมาจาก : http://www.sobkroo.com/detail_room_index.php?nid=5576

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

รมว.ศธ.มอบนโยบายการศึกษา

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายแก่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ ในวันแรกที่เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕ ที่หอประชุมคุรุสภา



รมว.ศธ.กล่าวว่า นโยบายการศึกษาคือกุญแจสำคัญ และเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยขจัดความยากจน โดยนโยบายของ ศธ.ต่อจากนี้ไปจะยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ดูแลครูอาจารย์เสมือนคนในครอบครัว ดูแลนักเรียนเหมือนลูกหลาน โดยจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน และจะจัดให้ดีกว่าในอดีต จะต้องไม่มีการคอร์รัปชั่น ไม่โกงนักเรียน ไม่บังคับขู่เข็ญครูอาจารย์ ต้องไม่เกณฑ์ครูและนักเรียนไปต้อนรับผู้ใหญ่โดยไม่จำเป็น ต้องไม่ปล่อยให้ยาเสพติดแพร่ระบาดในกลุ่มนักเรียนนักศึกษา นอกจากนี้ ขอฝากผู้บริหาร ศธ.ให้ช่วยลดกฎระเบียบและงานนอกเหนือจากการสอนของครู เพื่อขจัดการเรียกร้องเงินครูในการโยกย้ายตำแหน่ง รวมทั้งโครงการครูคืนถิ่น ขอให้มีกฎเกณฑ์ที่โปร่งใส เป็นธรรม สามารถตรวจสอบคะแนนได้ และให้ลดการใช้ดุลยพินิจ

รมว.ศธ.ได้กล่าวถึงจุดเน้นนโยบายการพัฒนาการศึกษาอย่างเท่าเทียมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา ดังนี้


  • จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทุกคน ซึ่งเยาวชนหมายถึง เด็กตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จะต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกันทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็นในเมืองหรือชนบท จัดโดยรัฐหรือเอกชน การศึกษาในระดับโรงเรียนควรจะมีความรู้ในหลายๆ ด้าน เพื่อให้เด็กมีกรอบคิด มีวิธีคิดที่กว้างขวาง จินตนาการ พร้อมที่จะเผชิญกับโลกสมัยใหม่ และเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๐๑๕ โดยเมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จะต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ซึ่งรัฐบาลจะประกันรายได้ ๓๐๐ บาทต่อคนต่อวัน
  • ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมืออาชีพ ซึ่งนักศึกษาหมายถึง ผู้ที่เรียนในระดับอุดมศึกษา อาชีวศึกษา หรือสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ขึ้นไป เมื่อเรียนจบนักศึกษาจะต้องมีความเป็นมืออาชีพ เติบโตเป็นพลเมืองโลกที่ทันสมัย มีทักษะหลากหลาย มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก และอยู่ร่วมกันเป็นสังคมฐานความรู้ ซึ่งรัฐบาลจะประกันรายได้ผู้จบปริญญาตรี ๑๕,๐๐๐ บาทต่อเดือน
  • เน้นขยายโอกาสทางการศึกษา ๔ ด้าน ดังนี้

๑) โอกาสเข้าถึงทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม เนื่องจากความเป็นเลิศมักจะกระจุกตัวอยู่ในเมือง แต่นักเรียนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในชนบท มีฐานะยากจน จึงได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริม ได้แก่

- โครงการ One Tablet per Child โดยจะจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับรัฐบาลจีนในเรื่อง G2G เพื่อนำหลักสูตรมาใส่ในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสัญญาณ Wi-Fi ได้ โดยจะหารือกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเรื่องการปล่อยสัญญาณ Wi-Fi และการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีความเหมาะสมกับนักเรียนในวัยนี้ รวมทั้งจะต้องรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนผู้ใช้ด้วย เพื่อเป็นการเปิดโอกาส ก่อให้เกิดเสรีภาพทางความคิด และมีมุมมองที่กว้างขึ้น

- ห้องการเรียนรู้ โดยมีครูมาเปิดสอนพิเศษแก่นักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งรัฐเป็นผู้สนับสนุนค่าจ้าง มีการติดตั้งซอฟต์แวร์การศึกษา ไม่ว่าจะเป็น e-Book e-Learning เพื่อสร้าง Knowledge Base Society

- โครงการ e-Education เพื่อพัฒนาโปรแกรมและเนื้อหา ที่จะพลิกโฉมโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้ระบบการศึกษาที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง

- โครงการโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในฝันสู่อุดมศึกษาชั้นยอด ให้มีคณะกรรมการโรงเรียน (School Board) ที่สามารถจัดจ้างครูใหญ่และครูที่มีความสามารถเป็นเลิศ จัดบริการขั้นพื้นฐาน มีรถรับ-ส่งนักเรียน จัดให้มีหอพักสำหรับนักเรียนที่บ้านอยู่ไกล

- โครงการพลังครู พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา แก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ด้วยการอบรมคุณธรรม ทำบัญชีครัวเรือน ปรับโครงสร้างหนี้ นำหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบ และเพิ่มรายได้พิเศษให้เพียงพอ และขยายโอกาสใหม่ๆ

- โครงการศูนย์การศึกษานานาชาติ

- โครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งพยาบาล เพื่อดูแลเด็กๆ ที่ป่วย และสามารถสอนหนังสือได้ด้วย

- โรงเรียนตัวอย่างในทุกอำเภอ เพื่อพัฒนาศักยภาพของโรงเรียนให้เป็นเลิศ โดยใช้การติดต่อสื่อสารด้วยวิทยาการที่ทันสมัย

๒) โอกาสเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อที่นักเรียนและผู้ปกครองจะได้คลายความกังวลในเรื่องทุนการศึกษา ซึ่งรัฐบาลเตรียมจัดทำโครงการต่างๆ ดังนี้

- Smart Card เพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน

- โครงการเรียนก่อนผ่อนทีหลัง ส่งคืนเมื่อมีรายได้

- ทุนการศึกษาสานฝันนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศ (๑ อำเภอ ๑ ทุน) โดยจะต้องปรับเกณฑ์เพื่อให้เกิดการกระจายทุนมากขึ้น

- กองทุนตั้งตัวได้ โดยจะตั้งกองทุนในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน มีคณะกรรมการคอยกำกับควบคุม ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ ศิษย์เก่า ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ตัวแทนภาครัฐและเอกชน เพราะในมหาวิทยาลัยและสถาบันอาชีวศึกษามีนักศึกษาที่มีองค์ความรู้ มีนวัตกรรมที่ทันสมัยมากมาย การเป็นนักธุรกิจที่มีฐานความรู้จึงมีความได้เปรียบกว่า สามารถสร้างผู้ประกอบการได้มากกว่า

๓) โอกาสในการเพิ่มพูนและฝึกฝนทักษะ นักเรียนทุกคนสามารถเติบโตได้ในโลกที่เป็นจริง การเรียนรู้บนการทำกิจกรรม (Activity-Based Learning) ซึ่งรัฐบาลเตรียมจัดทำโครงการต่างๆ ดังนี้

- จะส่งเสริมอาชีวศึกษาให้มีความสำคัญมากขึ้น มีความรู้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง และเป็นมืออาชีพ

- ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) มีเป้าหมายให้มีจำนวนเพียงพอต่อการบริการทุกชุมชน เพราะเป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์จากทักษะของนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา และสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนในชุมชนได้อีกด้วย

- โครงการอัจฉริยะสร้างได้ เพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาความถนัดของตนเองในทุกๆ สาขา

- โครงการ ๑ ดนตรี ๑ กีฬา ๒ ภาษา สนับสนุนให้เยาวชนได้มีความสามารถในการแข่งขันความเป็นเลิศ ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษและจีนต้องอยู่ในบรรยากาศของเจ้าของภาษาให้มากที่สุด ส่วนวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จะต้องสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง

- ปรับปรุงหลักสูตร ยกเลิกการท่องจำ และใช้หลักการเรียนรู้แทน โดยใช้เนื้อหาวิชาที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกัน เช่น Video Link รวมถึงการวัดผลที่มีมาตรฐานและทันสมัย

- คนไทยที่มีอายุ ๒๕ ปีขึ้นไป สามารถเทียบประสบการณ์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้ โดยการเรียนในเวลา หรือนอกเวลา เพื่อให้มีกรอบความคิดที่ก้าวหน้า ทันต่อโลก และทันต่อลูกหลาน

- สถาบันการศึกษาราชภัฏและอาชีวศึกษา เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาสามารถค้นหาตัวเองได้ว่า เก่งด้านใด ถนัดด้านไหน และจะส่งเสริมอาชีวศึกษาให้มีความสำคัญมากขึ้น มีความรู้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง มีความเป็นมืออาชีพ เปิดโอกาสให้ประชาชนไปพัฒนาเพิ่มเติมทักษะด้านต่างๆ ตามที่ต้องการ ตามความถนัด โดยเรียนก่อนผ่อนที่หลัง เมื่อมีงานทำจึงจะผ่อนใช้

- จัดศูนย์ฝึกอบรมในสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อให้ประชาชนเข้าไปเรียนรู้เรื่องที่สนใจ พัฒนาทักษะให้คนไทยเป็นผู้ชำนาญในสาขาต่างๆ ใช้ระบบเรียนก่อนผ่อนทีหลัง

๔) โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ โดยใช้ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ ศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งรัฐบาลเตรียมจัดทำโครงการต่างๆ ดังนี้

- โครงการ Internet ตำบล และ Internet หมู่บ้าน (ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนค้นหาความถนัดของตนเอง เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อต่อยอดในสิ่งที่ต้องการทำ รวมทั้งผู้ที่ต้องการเปลี่ยนวิชาชีพด้วย

- สถานที่รวมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์แก่เด็กนักเรียน โดยมีคอมพิวเตอร์สัญญาณ Wi-Fi ให้ใช้ รวมทั้งมีครูมาสอนการบ้าน

คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึงประเด็นคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตและการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ในรายการ "จับเงินชนทอง" ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๕




ศธ.จะจัดซื้อคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต จำนวน ๙๐๐,๐๐๐ เครื่อง ในวงเงิน ๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ (ป.๑) ที่มีอยู่จำนวน ๘๖๐,๐๐๐ คน ให้ทันใช้ในปีการศึกษา ๒๕๕๕ โดยจะยกให้เด็กเลย ไม่ได้ให้ยืม สำหรับคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตจำนวนที่เหลือ จะนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ป.๒-๖ เนื่องจาก ศธ.มีงบประมาณจำกัด จึงจัดให้เฉพาะนักเรียนชั้น ป.๑ ก่อน แต่หากได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มอีก ก็จะจัดเพิ่มให้ทุกชั้นเรียนถึงชั้น ป.๖ โดยจะนำงบประมาณตรงส่วนอื่นๆ มาใช้ เช่น ตัดงบประมาณการประชาสัมพันธ์การจัดงานแสดงต่างๆ ของ ศธ.


สำหรับกรณีที่เด็กจะนำคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตไปใช้เล่นเกมส์นั้น รมว.ศธ.กล่าวว่า การเล่นเกมส์ไม่ได้เสียหายอะไร แต่ยังมีประโยชน์ในการช่วยฝึกความคิด ฝึกสมอง ซึ่งผู้ใหญ่เองก็เล่นเกมส์ แต่จะบอกว่าเด็กเล่นเกมส์ไม่ดีคงไม่ได้ เป็นการครอบความคิดเด็กเกินไป รมว.ศธ.ต้องการให้เด็กมีสิทธิ์ เสรีภาพทางความคิด มีจินตนาการที่ก้าวหน้ากว่าผู้ใหญ่ มิฉะนั้นประเทศก็จะไม่พัฒนา การเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องดูแลเอาใจใส่ลูก เพราะพ่อแม่มีหน้าที่รับผิดชอบอนาคตของลูก และโดยส่วนใหญ่ผู้ที่ดูเว็บไซต์ไม่เหมาะสมจะเป็นผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก ส่วนการดูแลรักษาเครื่อง ศธ.ได้จัดให้มีศูนย์ซ่อมแซม ถ้าเสียหายจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ ก็จะให้เครื่องใหม่ แต่เชื่อว่าการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตกับเด็กโดยไม่ต้องยืม พ่อแม่และเด็กอาจจะหาวิธีดูแลรักษาที่ดีก็ได้ อย่างไรก็ตามเครื่องอาจจะมีปัญหาบ้าง เพราะซื้อในราคาถูก ในปีนี้ จึงขอทดลองใช้คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตกับนักเรียนชั้น ป.๑ ก่อน ซึ่งในปีต่อไปจะวางแผนงบประมาณในส่วนนี้ไว้


การจัดซื้อคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตระบบ G2G นั้น ทางกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อ โดย รมว.ศธ.ได้ขอให้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ ไม่ใช่เป็นแค่ e-Book เพื่อให้นักเรียนสามารถตรวจสอบได้ว่า ครูสอนถูกต้องหรือไม่ และสามารถเรียนได้ทั้งแบบแนวขนานและแนวตั้ง (เรียนล่วงหน้า) ได้ สำหรับเหตุผลที่จะต้องการจัดซื้อแบบ G2G นั้น ก็เพื่อป้องกันการคอรัปชัน ซึ่งตนได้ประกาศไว้ในวันรับตำแหน่งวันแรกแล้วว่า ต้องการให้ ศธ.ปราศจากการคอรัปชัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็จะทำให้การคอรัปชันเหลือน้อยที่สุด ส่วนเรื่องของหลักสูตร ดร.โอฬาร ไชยประวัติ จะเป็นประธานในการจัดทำหลักสูตร

ที่มา: http://www.moe.go.th/websm/2012/jan/033.html

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อยากได้ “ตั๋วครู” ต้องสอบขึ้นทะเบียน


อยากได้ “ตั๋วครู” ต้องสอบขึ้นทะเบียน คุรุสภาอนุมัติร่างข้อบังคับว่าด้วยใบอนุญาตฯ หวังดันเป็นวิชาชีพชั้นสูง

ดร.ดิเรก พรสีมา ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างข้อบังคับว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ หลังจากที่มีการตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างดังกล่าวมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งการจัดทำร่างข้อบังคับว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฉบับนี้จัดทำขึ้น เพราะต้องการพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรสายครูต่อไป เมื่อสำเร็จการศึกษาหากต้องการใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจะต้องมีการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไว้ก่อน แตกต่างจากปัจจุบัน เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติว่าสำเร็จการศึกษา บัณฑิตก็สามารถนำหลักฐานมายื่น ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูกับทางคุรุสภาได้โดยที่ไม่มีการสอบใดๆ ทั้งนี้ จุดสำคัญของร่างข้อบังคับว่าด้วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฉบับนี้ ในกรณีที่บัณฑิตสำเร็จการศึกษาเข้าสอบขึ้นทะเบียน เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว แต่ได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดนักศึกษาจะไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ แต่จะได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอนแทน ซึ่งผู้ที่ถือใบอนุญาตปฏิบัติการสอนนี้จะไม่มีสิทธิ์ที่จะไปสอบบรรจุเข้ารับราชการครู แต่สามารถไปทำหน้าที่เป็นครูสอนในโรงเรียนเอกชนได้

“หลังจากนี้คุรุสภาจะได้มีการเสนอร่างข้อบังคับฉบับนี้ให้กระทรวงศึกษาธิการได้ พิจารณาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาและอย่างช้าก็น่าจะนำร่างข้อบังคับว่าด้วย ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมาใช้กับบัณฑิตที่มายื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2556 เพราะมีการกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้ไว้อย่างชัดเจน ในบทเฉพาะกาล และหากมีการเริ่มใช้เชื่อว่าคุณภาพบัณฑิตที่จะก้าวเข้ามาสู่วิชาชีพครู จะต้องเป็นคนที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากทั้งบัณฑิต อาจารย์ผู้สอนบัณฑิตและสถาบันผู้ผลิตบัณฑิตจะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ เพราะหากยังนิ่งเฉยโอกาสที่จะก้าวเข้ามา เป็นครูก็จะน้อยลง นอกจากคนที่มีคุณภาพจริงๆ” ประธานคณะกรรมการคุรุสภากล่าว

ดร.ดิเรกกล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้เห็นชอบให้โรงเรียนเอกชนสามารถร่วมกับ สถาบันที่ผลิตครูเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิต ได้ตาม ที่สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เสนอเรื่องมา โดยมี ครูโรงเรียนเอกชนที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตร ป.บัณฑิต จำนวน 1,780 คน มีสถาบัน ร่วมผลิตจำนวน 30 แห่ง.

ที่มาของข่าว : http://www.thairath.co.th

ถึงเวลาสกสค.ปฏิรูปสวัสดิการเพื่อครู

ไม่ว่าหน่วยงานหรือองค์กรใดก็ตามเรื่องของสวัสดิการและสวัสดิภาพบุคลากรถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะบำรุงขวัญบุคลากรในหน่วยงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา(สกสค.)ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแลเกี่ยวกับสวัสดิการและสวัสดิภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาทั่วประเทศ ทั้งเรื่องของรายได้ ปัญหาหนี้สิน ที่พัก ความเป็นอยู่อย่างการจัดให้บริการหอพักครู นั่นหมายถึงครูและบุคลากรทางการศึกษานับล้านคนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้

เมื่อหน่วยงานที่ดูแลเรื่องสวัสดิการและสวัสดิภาพครูทำงานและให้บริการที่ดีแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาย่อมได้รับการชื่นชมยินดี แต่ที่ผ่านมาถึงแม้ สกสค.จะต้องทำงานอย่างหนักเกี่ยวกับสารพัดปัญหาของครูและบุคลากร และผลงานที่ออกมาก็ได้รับทั้งคำชมและคำตำหนิ ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องธรรมดาของการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับผู้คนจำนวนมาก เรื่องนี้ทาง สกสค.เองก็ยอมรับและพยายามแก้ไขจุดบกพร่องด้วยตั้งใจให้ครูได้รับประโยชน์สูงสุดจากการทำงานของ สกสค.

ที่ว่ามาคือความมุ่งมั่นของ สกสค. ที่จะทำงานเพื่อครู จึงเป็นที่มาของการเดินทางไปศึกษาดูงานด้านสวัสดิการและสวัสดิภาพครูของประเทศในยุโรปที่สหพันธรัฐเยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
เรื่องของอาชีพครูในเยอรมนี เท่าที่ฟังจาก นายเคล้าส์ เบรคเทอร์ นายกเทศมนตรีเมืองบาดวิมพ์เฟน ซึ่งเป็นเมืองเก่าแห่งหนึ่งของเยอรมนี ทราบว่า เป็นอาชีพที่มีปัญหาค่อนข้างน้อย โดยเป็นอาชีพที่มีเกียรติและศักดิ์ศรีมาก เป็นข้าราชการกลุ่มหนึ่งที่มีรายได้ค่อนข้างสูงรองจากหมอ ครูประถมจะมีเงินเดือนประมาณ 2,000 ยูโร หรือ เกือบ 1 แสนบาท และถ้าเป็นระดับมหาวิทยาลัยก็มากขึ้น ส่วนสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล รัฐจะช่วยจ่ายให้ครึ่งหนึ่ง ถ้ามีลูกก็จะได้เพิ่มเป็น 70% ส่วนเรื่องหนี้สินต้องบอกว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคลแต่โดยภาพรวมครูเขาจะไม่มีปัญหามากมายเหมือนบ้านเรา เพราะเขาบอกว่าเงินเดือนที่เขาได้รับถ้าใช้จ่ายและกินอยู่อย่างปกติธรรมดาไม่เดือดร้อนเลย

สำหรับเรื่องงานโรงแรมและการบริการได้ไปเห็นที่ IMI หรือ International Hotel Management Institute Switzerland ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาเอกชนที่สอนด้านการโรงแรมที่มีชื่อเสียงอันดับต้น ๆ ของประเทศ IMI ตั้งอยู่ที่เมืองลูเซิร์น ซึ่งเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเมืองแห่งการศึกษา มีสถาบันการศึกษามากมาย และมีนักศึกษาจากทั่วโลกเข้ามาอยู่ที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก สถาบัน IMI ถือว่าเป็นสถาบันที่จัดการเรียนการสอนด้านการโรงแรมและบริการเป็นอันดับ 1 ของโลก มีนักศึกษาจบออกไปแล้วประมาณ 5,000 คน โดย 74% ของนักศึกษาที่จบออกไปจะได้รับการโปรโมตเป็นระดับผู้บริหารภายในเวลา 5 ปี ซึ่งเขารู้สึกภูมิใจมากกับความสำเร็จนั้น สำหรับค่าเทอมต้องยอมรับว่าแพงมาก ๆ เพราะเฉลี่ยแล้วตกประมาณภาคเรียนละ 1 ล้านบาท ปีหนึ่งมี 3 ภาคเรียน (ไม่อยากจะคิดว่าเรียนจบแล้วเป็นเงินเท่าไหร่) ปัจจุบันที่ IMI มีนักศึกษาอยู่ประมาณ 500 คน จาก 78 ประเทศทั่วโลก ในจำนวนนี้มีนักเรียนไทย 6 คน

อภิชญา คมสัน หรือ น้องพีช วัย 20 ปี เด็กไทยที่ข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนด้านการโรงแรมที่ IMI เล่าว่า อาชีพบริการเป็นงานที่หนักมาก การมาเรียนที่นี่ต้องลงมือทำทุกอย่าง ค่าเทอมแพงแต่ไม่ได้อยู่อย่างสุขสบายแต่ก็มีความสุข เชื่อว่าสาขาที่เลือกเรียนยังไปได้อีกไกลเพราะงานโรงแรมและการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ยังต้องมีต่อไปเพียงแต่เราต้องสู้กันด้วยแนวคิดใหม่ ๆ และการบริการที่ดี สำหรับประเทศไทยคิดว่าถ้ามีสถาบันที่จัดการเรียนการสอนด้านการบริการอย่างจริงจังได้ก็น่าจะดี เพราะเรื่องนี้เป็นเสน่ห์ของการทำธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จได้

ภายหลังการเดินทาง นายบำเหน็จ ทิพย์อักษร รองเลขาธิการ สกสค. ระบุว่า การศึกษาดูงานครั้งนี้พอจะเห็นถึงความแตกต่างที่ชัดเจนในเรื่องของรายได้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาของไทยกับประเทศในยุโรป เพราะอาชีพครูในยุโรปจะมีรายได้ค่อนข้างสูง อีกทั้งเป็นอาชีพที่มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีรองจากอาชีพแพทย์ โดยรัฐจะเข้ามาดูแลเรื่องสวัสดิการของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันก็มีสหภาพครูที่เข้ามามีบทบาทในการต่อรองเงินเดือนและสวัสดิการให้ครู ทำให้มีความมั่นคงในอาชีพได้รับการยอมรับของสังคม ที่สำคัญไม่มีปัญหาหนี้สิน เนื่องจากมีรายได้ที่สูงพอ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ประเทศไทยต้องนำกลับมาคิด
“ผมมองว่าการแก้ปัญหาหนี้สินที่ถูกทาง คือ แก้ที่จุดเริ่มต้น รายได้ครูต้องมีมากกว่ารายจ่าย ซึ่งหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งคงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ดังนั้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งคุรุสภา สกสค. และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รวมถึงองค์กรครูต้องมาหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดแนวทางที่จะทำให้ครูมีรายได้มากกว่ารายจ่าย และ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากการศึกษาดูงาน คือแนวคิดของคนในยุโรปที่เน้นการพึ่งพาตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงเรื่องการใช้จ่ายอย่างมีวินัยซึ่งทำให้ไม่เป็นหนี้ ฉะนั้นผมคิดว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องกลับมาส่งเสริมเรื่องการพึ่งพาตนเองและความมีวินัยของครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างจริงจัง”

ส่วนเรื่องของ หอพักครู ซึ่งเป็นอีกงานหนึ่งของ สกสค.ที่จัดให้บริการครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น นายบำเหน็จ มองว่า ปัจจุบัน สกสค.ยังทำได้ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร การได้มาเห็นกิจการโรงแรมของคนไทยที่อยู่ในเยอรมนีทำให้เห็นแนวคิดว่า การที่เจ้าของโรงแรมที่เป็นคนไทยธรรมดาไม่มีพื้นฐานการจัดการ อย่าง พี่แพม สมพงษ์ แพม ไพเคิล ซึ่งเป็นชาวศรีสะเกษ แต่สามารถบริหารกิจการในต่างประเทศได้เป็นอย่างดีและประสบความสำเร็จ ขณะที่ สกสค.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำเกี่ยวกับสวัสดิการโรงแรมที่พักให้กับครูมายาวนานแต่กลับทำได้ไม่ดี โดยเฉพาะเรื่องการบริการและความสะอาดที่ สกสค.ต้องกลับมาปรับปรุงเป็นการใหญ่ โดยรวมถึงการตกแต่งภายในห้องพักที่จะต้องทำให้ดีขึ้นด้วย เนื่องจาก สกสค.มีแนวคิดที่จะพัฒนาและขยายกิจการหอพักครู หรือ โรงแรมไป 4 ภูมิภาค เพราะฉะนั้นเราจึงต้องทำให้ได้อย่างมืออาชีพ

“เรื่องจิตบริการของพนักงาน ความสะอาด และการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าของผู้บริหาร รวมถึงการตกแต่งภายในให้ดูสวยงามน่าพัก และมีความเป็นมืออาชีพ โดยเฉพาะแนวคิดการนำวัสดุตกแต่งที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างคราด พลั่ว คันไถ หรือวัสดุที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์ซึ่งเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างต่ำ แต่ดูดี และมีความสวยงาม ซึ่งเป็นแนวคิดที่น่าสนใจและผมจะนำกลับมาปรับปรุงงานของ สกสค.ให้ดีขึ้น” รองเลขาธิการ สกสค.ย้ำ
จากการดูงานครั้งนี้ยังได้ทำให้เห็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและน่าจะนำกลับมาปรับใช้กับบ้านเรา คือ ประเทศในยุโรปรัฐบาลเขาจะให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา รัฐจะสนับสนุนให้เรียนถึงระดับหนึ่งที่เรียกว่าเป็นการศึกษาพื้นฐานอย่างเต็มที่ แต่เมื่อถึงระดับมหาวิทยาลัยก็จะเป็นความรับผิดชอบของแต่ละคน อย่างที่สวิตเซอร์แลนด์เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยรัฐจะมีกองทุนให้กู้ยืมเรียนโดยไม่คิดดอกเบี้ยจนกว่าจะมีงานทำจึงทำให้มีคนจบการศึกษาระดับปริญญาไม่มากนัก เพราะฉะนั้นเมื่อเรียนจบขั้นพื้นฐานส่วนใหญ่ก็จะหางานทำกัน ที่เป็นอย่างนี้เพราะเขามีนโยบายในการสอนคนที่ความชัดเจนว่า จะมีชีวิตที่ดีขึ้นถ้าทำงาน ไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ เด็กสวิตเซอร์แลนด์บางคนไม่มีเงินจะเรียนก็ต้องดิ้นรนขวนขวายด้วยตัวเอง ไม่รอแต่ให้คนอื่นยื่นมือเข้ามาช่วย...น่าสนใจจริง ๆ.

อรนุช วานิชทวีวัฒน์

ที่มาของข่าว : http://www.dailynews.co.th/

จี้ศธ.โละประเมินวิทยฐานะแบบเก่า


ตามที่ นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้การประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องดูจากผลลัพธ์หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นสำคัญนั้น รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ตนเห็นด้วย เพราะจะทำให้การศึกษาลงสู่ห้องเรียน และส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของเด็กให้ดีขึ้นอย่างแท้จริง ในขณะที่ผ่านมาการขอเลื่อนวิทยฐานะจะเน้นการทำผลงานวิจัย เป็นเอกสาร ตำรา คล้ายกับการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย จนเกิดปัญหาการจ้างทำผลงาน หรือคัดลอกผลงานผู้อื่น รวมถึงปัญหาการทิ้งชั้นเรียน การมุ่งเป็นนักล่ารางวัล เพื่อมุ่งขอเลื่อนวิทยฐานะจนเกิดผลกระทบกับเด็ก และที่ผ่านมานักวิชาการ นักการศึกษา ต่างก็ออกมายอมรับแล้วว่าการเลื่อนวิทยฐานะโดยวิธีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์ เกิดผลเสีย และที่ร้ายที่สุดเป็นการทำลายระบบการศึกษาของประเทศ ในขณะที่ผู้ปกครองก็ออกมาย้ำว่าเป็นเรื่องจริงที่การเรียนของลูกหลานไม่มีคุณภาพ รศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวต่อไปว่า ที่ผ่านมา รมว.ศธ.ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เรื่องตั้งอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเฉพาะกิจจัดทำร่างหลักเกณฑ์วิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อศึกษาวิเคราะห์เรื่องนี้อีกครั้ง แต่ตนไม่เห็นด้วยอย่างมาก เพราะในเมื่อก็รู้อยู่แล้วว่าการเลื่อนวิทยฐานะดังกล่าวมีแต่ปัญหา จึงไม่จำเป็นจะต้องไปศึกษาอะไรกันอีกแล้ว เพราะเราเสียเวลาไปมากกับเรื่องดังกล่าว ดังนั้นตนเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ รมว.ศธ.จะต้องใช้ความกล้าทางการเมืองในการประกาศยกเลิกการเลื่อนวิทยฐานะของครูและบุคลาการทางการศึกษาแบบเดิม ๆ ได้แล้ว และทบทวนสิ่งที่ทำไปทั้งหมด พร้อมทั้งเร่งการประเมินผลการเลื่อนวิทยฐานะด้วยการพิจารณาจากผลงานเชิงประจักษ์ตามที่ประกาศไว้.

ที่มาของข่าว: http://www.dailynews.co.th

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นโยบายการศึกษา (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)



7 คำแถลงนโยบายการศึกษา
ของคณะรัฐมนตรี
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อรัฐสภา
วันอังคารที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔

นโยบายการศึกษา

๑. เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการปฏิรูประบบความรู้ของสังคมไทย อันประกอบด้วยการยกระดับองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐานสากล จัดให้มีโครงการตำราแห่งชาติที่บรรจุความรู้ที่ก้าวหน้าและได้มาตรฐานทั้งความรู้ที่เป็นสากลและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการอ่าน พร้อมทั้งส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น จัดให้มีระบบการจัดการความรู้ ปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและทัดเทียมกับมาตรฐานสากลบนความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาทุกระดับชั้นโดยวัดผลจากการผ่านการทดสอบมาตรฐานในระดับชาติและนานาชาติ ขจัดความไม่รู้หนังสือให้สิ้นไปจากสังคมไทย จัดให้มีครูดีเพียงพอในทุกห้องเรียน ให้มีโรงเรียนและสถาบันอาชีวศึกษาคุณภาพสูงในทุกพื้นที่ พัฒนามหาวิทยาลัยเข้าสู่ระดับโลก พัฒนาระบบการศึกษาให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมมุ่งการสร้างจริยธรรมในระดับปัจเจก รวมทั้งสร้างความตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความเสมอภาค และดำเนินการให้การศึกษาเป็นพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริงปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาโดยการกระจายอำนาจสู่พื้นที่ให้เสร็จสมบูรณ์โดย
เริ่มจากพื้นที่ที่มีความพร้อม

๒. สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทย โดยคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ รวมทั้งชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิดให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีการเทียบโอนวุฒิการศึกษาสำหรับกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช่น กลุ่มแม่บ้าน จัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวางและลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษา
นอกจากนี้ จะดำเนินการลดข้อจำกัดของการเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาชั้นสูง โดยจัดให้มี “โครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต” โดยให้ผู้กู้เริ่มใช้คืนต่อเมื่อมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงตัวได้พักชำระหนี้แก่ผู้เป็นหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยปรับเปลี่ยนการชำระหนี้เป็นระบบที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ปรับปรุงระบบการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อทุกระดับให้เอื้อต่อการกระจายโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดให้มีระบบคัดเลือกกลางเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ดำเนิน “โครงการ ๑ อำเภอ ๑ ทุน” เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศ จัดการศึกษาชุมชนเพื่อมุ่งให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้และการศึกษาตลอดชีวิต

๓. ปฏิรูปครู ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริงโดยปฏิรูประบบการผลิตครูให้มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติ สร้างแรงจูงใจให้คนเรียนดีและมีคุณธรรมเข้าสู่วิชาชีพครู ปรับปรุงระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนครู พัฒนาระบบความก้าวหน้าของครูโดยใช้การประเมินเชิงประจักษ์ที่อิงขีดความสามารถและวัดสัมฤทธิผลของการจัดการศึกษาเป็นหลัก จัดระบบการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง แก้ปัญหาหนี้สินครูโดยการพักชำระหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ตามนโยบายแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของรัฐบาล พัฒนาระบบภูมิสารสนเทศเพื่อใช้ในการกระจายครูขจัดปัญหาการขาดแคลนครูในสาระวิชาหลัก เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษา

๔. จัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยกระบวนการสร้างประสบการณ์ระหว่างเรียนอย่างเหมาะสม และสนับสนุนการสร้างรายได้ระหว่างเรียน และสนับสนุนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีงานทำได้ทันทีโดยความร่วมมือระหว่างแหล่งงานกับสถานศึกษา ส่งเสริมให้มีศูนย์อบรมอาชีวศึกษาเพื่อให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนสามารถเรียนรู้หาประสบการณ์ก่อนไปประกอบอาชีพโดยให้สถาบันอาชีวศึกษาดำเนินการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพรวมทั้งจัดให้มีศูนย์ซ่อมสร้างประจำชุมชนเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือและการสร้างทักษะในการให้บริการแก่ประชาชน
ทั้งนี้ จะดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนอย่างจริงจังเพื่อส่งเสริมการศึกษาในสายอาชีวศึกษาให้เป็นที่ยอมรับและสามารถมีรายได้สูงตามความสามารถ

๕. เร่งพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยใช้เป็นเครื่องมือในการเร่งยกระดับคุณภาพและการกระจายโอกาสทางการศึกษา จัดให้มีระบบการเรียนแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติเพื่อเป็นกลไกในการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การเรียนรู้ให้เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและเอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต พัฒนาเครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา พัฒนาระบบ “ไซเบอร์โฮม”ที่สามารถส่งความรู้มายังผู้เรียนโดยระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ส่งเสริมให้นักเรียนทุกระดับชั้นได้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา ขยายระบบโทรทัศน์เพื่อการศึกษาให้กว้างขวาง ปรับปรุงห้องเรียนนำร่องให้ได้มาตรฐานห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งเร่งดำเนินการให้ “กองทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา” สามารถดำเนินการตามภารกิจได้

๖. สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างทุนปัญญาของชาติ พัฒนามหาวิทยาลัยให้มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับโลก ระดมสรรพกำลังเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายการวิจัยแห่งชาติเพื่อสร้างทุนทางปัญญาและนวัตกรรม ผลักดันให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การสร้างรากฐานใหม่ของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการวิจัยสำหรับสาขาวิชาที่จำเป็นพัฒนาโครงสร้างการบริหารงานวิจัยของชาติโดยเน้นความสัมพันธ์อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพระหว่างองค์กรบริหารงานวิจัยกับสถาบันอุดมศึกษา

๗. เพิ่มขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ สอดคล้องตามความต้องการของภาคการผลิตและบริการ เร่งรัดการจัดทำมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพรับรองสมรรถนะการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ และการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานให้ครบทุกอุตสาหกรรม

อ่านฉบับเต็มได้ที่ www.thaigov.go.th หรือ คลิกเพื่อดาวน์โหลด

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คศ. 3 เรื่องเหลือเชื่อที่เป็นจริง

บันทึก ไม่ลับของครูสาร คศ. 3 เรื่องเหลือเชื่อที่เป็นจริง
ผู้เขียน นายประสาร ธาราพรรค์
การเขียนบันทึกเป็นเรื่องที่แทบทุกคนต้องเคยปฏิบัติอาจเป็นบันทึกสั้นๆ กันลืมหรือบันทึกเรื่องราวเป็นงานเป็นการ ซึ่งบันทึกทางวิชาการแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ บันทึกการฟัง บันทึกการอ่านและบันทึกจากประสบการณ์ตรง งานเขียนของผู้เขียนชิ้นนี้เป็นการเขียนบันทึกจากประสบการณ์ตรง เป็นเหตุการณ์ในอดีตเมื่อปี 2545 เมื่อแปดปีเก้าปีที่แล้ว ข้อมูลที่นำมาเขียนถูกฝังไว้ในจิตใต้สำนึกมานาน จะเก็บไว้ให้หายไปกับห้วงความคิดของตนเองก็เสียดายเลยคิดว่าอย่างน้อยน่าที่จะเผยแพร่ออกไปอาจจะทำให้ผู้อ่านบางท่านได้ข้อคิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งนำไปใช้ ซึ่งงานเขียนของผู้เขียนที่ลงในเว็บไซต์ของวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรีได้รับการต้อนรับจากนักอ่านพอสมควรและมีหลายข้อเขียนที่ถูกดึงไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่น ๆ ซึ่งผู้เขียนก็ไม่หวงห้ามใด ๆทั้งสิ้นทั้งยังปลื้มใจดีใจเสียอีก สำหรับบทความเรื่องนี้ผู้เขียนใช้ชื่อเรื่องว่า “บันทึกไม่ลับของครูสาร คศ.3 เรื่องเหลือเชื่อที่เป็นจริง” เขียนเป็นที่ระลึกวันคล้ายวันเกิดของผู้เขียน อายุ ครบ 58 ปี ในเดือนกันยายน ปี 2553

ตามจริงเรื่องนี้ผู้เขียนสองจิตสองใจมานานพอสมควรจะเสนอผลงานเผยแพร่ดีหรือไม่แต่คิดว่าอาจเป็นแนวคิดทางหนึ่งของผู้ที่คิดอยากทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ แต่ไม่ได้ลงมือทำ อันเป็นเหตุทำให้ตนเองไม่ก้าวหน้าพัฒนาเท่าที่ควรทั้งที่มีความพร้อมมีความสามารถ ซึ่งหลายคนที่ไม่คิดจะทำผลงานฯคิดว่าตัวเอง ทำไปไม่รู้จะได้ไหมในสิ่งที่มุ่งหวัง หรือมีบทสรุปแห่งชีวิตง่าย ๆ ว่าฉันพอแล้วแค่นี้ไอ้วิทยฐานะทำไปปวด กบาล เปล่า แค่นี้ก็เพียงพอ แต่เรามองในมุมกลับ คือการทำผลงานการเลื่อนวิทยฐานะ ถ้าลองทำแบบสนุก ทำแบบถ้าได้ก็ถือว่าโชคดี ไม่ได้ก็แล้วไป มันจะไม่เครียด ไม่เป็นโรคประสาท ก็ลองทำดู เหมือนกับผู้เขียนที่ทำผลงานการเลื่อนวิทยฐานะ ทำเพราะอยากทำ ต้องการรวบรวมผลงานของตนให้สมบูรณ์ ทำเพราะท้าทายด้วยระยะเวลา ทำอย่างสนุก ความหวังในผลสำเร็จตั้งไว้ไม่ถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้ามันสำเร็จ....แฮะ...แฮะ... แจ็คพ็อตแตกครับ

ผู้เขียนมีประสบการณ์ในชีวิตแปลก ๆมากมายหลายเรื่องบางเรื่องแทบไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเรื่องจริงและเรื่องของผู้เขียนเรื่องหนึ่งที่แปลกและบังเกิดผลลัพธ์อย่างคาดไม่ถึงซึ่งผู้เขียนถือว่าเป็นตำนานของชีวิตเรื่องหนึ่งในชีวิตของผู้เขียน เรื่องนั้นคือการทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะจาก ซี 7 เป็น ซี 8 หรือจาก คศ. 2 ครูชำนาญการ เป็น คศ.3 ครูชำนาญการพิเศษ ใช้เวลาในการจัดทำเพียง 10 วัน

การทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะจากครูชำนาญการ (คศ.2) เป็นครูชำนาญการพิเศษ (คศ.3)ในความรู้สึกของครูส่วนใหญ่เป็นเรื่องเหมือนไกลเกินฝัน ทำยาก ลำบาก ไม่รู้จะทำอย่างไร จะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง จะเริ่มต้นอย่างไรก่อน จะให้ใครช่วยเหลือแนะนำ คนอย่างเราจะทำได้หรือ ทำแล้วจะผ่านหรือเปล่า จะหมดเงินอีกเท่าไรในการทำเพราะการทำผลงานการเลื่อนวิทยฐานะจากครูชำนาญการเป็นครูชำนาญการพิเศษเป็นเรื่องที่ต้องลงทุนทั้งกำลังกายใจความคิดและทรัพย์ทำแล้วใช่จะผ่านง่ายๆ ไม่ผ่านมีมากมาย ผู้เขียนบันทึกก็เป็นหนึ่งของครูที่ไม่ได้ทำผลงานการเลื่อนวิทยฐานะเพราะคิดแบบข้างต้นเหมือนกัน


ประมาณต้นปี พ.ศ. 2545 ผู้เขียนไปหาซื้อของ ดูของเก่า ที่บริเวณร้านค้าแถวคลองหลอดหลังกระทรวงมหาดไทย กรุงเทพฯ ซึ่งนักนิยมของเก่าจะเรียกร้านค้าแถบนี้ว่าย่านหลังกระทรวง ผู้เขียนเดินดูไปเรื่อยเปื่อยพอดีเมื่อยขาจะหาที่นั่งพัก บริเวณแถวนั้นมีหมอดูนั่งทำนายทายทักดวงชะตาอยู่ 1 คน หมอดูชวนผู้เขียนดูดวง ซึ่งวันนั้นผู้เขียนแต่งตัวแบบกระจอกสุดขีดคือกางเกง
ขาสั้นเสื้อยืดแถมรองเท้าที่ใส่ก็ใกล้ขาด กำลังจะหาซื้อรองเท้าใหม่ใส่ หมอดูมาชวนดูก็เลยดูตามใจหมอ ไม่ได้คิดตั้งใจดูเพียงดูเอาสนุกฆ่าเวลาเท่านั้น ขณะนั้นผู้เขียนมีเงินอยู่ในกำมือ 30 บาท เลยบอกหมอดูว่ามีเงินแค่ 30 บาท ดูได้ไหม หมอดูตอบตกลงเพราะกำลังว่างอยู่ไม่มีอะไรทำ หมอดูเป็นชายสูงอายุเป็นหมอดูประเภทดูลายมือ และให้ผู้เขียนแบมือทั้ง 2 ข้างเพื่อดูลายมือ เมื่อหมอดูพิจารณาสักครู่ก็บอกกับผู้เขียนซึ่งคำทำนายที่บอกที่ทำให้ผู้เขียนอึ้งทึ่งและประหลาดใจในคำทำนาย คือ “คุณมีผลงานระดับชาติ” ซึ่งตรงกับชีวิตผู้เขียนที่สุด คือ ผู้เขียนได้รับรางวัลระดับชาติมามากมาย อาทิ คำขวัญชนะเลิศระดับชาติ “ขายเสียง ขายสิทธิ์ เหมือนขายชีวิต ขายชาติ” รองชนะเลิศการประกวดสื่อระดับชาติ บทความทั้งชนะเลิศและรองชนะเลิศระดับชาติ ฯลฯ คำทำนายครั้งแรกถูกใจผู้เขียนก็เลยชักเงินเพิ่มให้อีก 40 บาท ตามประสาคนขี้เหนียว ผู้เขียนถามหมอดูว่าและการงานในหน้าที่เป็นอย่างไร หมอดูบอกว่า คุณจะเจริญในหน้าที่การงานได้เลื่อนตำแหน่งหน้าที่หลังจากเลยวันเกิดปีนี้ คือ25 กันยายน 2545 ผู้เขียนก็รู้สึกขำในใจเราจะเอาอะไรมาเลื่อนตำแหน่งหน้าที่ได้ จะไปเป็นผู้บริหารก็ไม่เคยคิด ทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะก็ไม่อยู่ในสมอง เลยคิดว่าหมอดูคงดูเรื่อยไปไม่แม่นเสียแล้ว ผู้เขียนเลยคุยไปเรื่อยเปื่อยไม่สนใจ และลืมคำทำนายของหมอดูหลังกระทรวงไปเลย ตอนหลังจะไปหาดูก็ไม่เจอเสียแล้ว

ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งผู้เขียนมีอายุครบ 50 ปี ในเดือนกันยายน ในช่วงใกล้วันเกิดมีความรู้สึกว่าน่าที่จะทำอะไรให้เป็นที่ระลึกเป็นอนุสรณ์เป็นความจดจำ ได้แต่คิดยังไม่ตัดสินใจว่าจะทำอะไรดี และพอดีกับครูจิ้ม(ครูนภาฤทัย พิทักษ์ระโนด) ขอความอนุเคราะห์ให้ตรวจผลงานในการเลื่อนวิทยฐานะจากครู เป็นครูชำนาญการ (คศ.2) ซึ่งเป็นรูปแบบในการจัดทำแบบใหม่ ผู้เขียนซึ่งมีอาชีพหลักรับช่วยเหลือเพื่อน ๆ ในการตรวจคำ ข้อความ การตัดคำ การเขียนงานใช้คำในงานวิชาการซึ่งใครก็ตามมาขอความช่วยเหลือในการทำผลงานทางวิชาการหรืองานเขียนก็จะถือเป็นหน้าที่ต้องทำต้องช่วยเหลือโดยตลอดมา เมื่อได้มีโอกาสตรวจผลงานของครูจิ้มในรูปแบบใหม่ในการเลื่อนวิทยฐานะ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจว่าไอ้รูปแบบใหม่ในการจัดทำผลงานมันไม่ได้ยากอย่างที่คิด สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบเอกสารเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะเมื่อนำมาตรวจสอบก็แทบจะมีครบเกือบทั้งหมดเหลือเพียงปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องถูกต้อง ดังนั้นคำตอบในการที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อเป็นอนุสรณ์ที่ตนเองมีอายุครบ 50 ปี คือจัดทำผลงานการเลื่อนวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษนั่นเอง ถึงแม้จะมีเวลาในการจัดทำไม่เกิน 10 วันตามที่ตั้งใจกำหนดวันไว้ ซึ่งเมื่อผู้เขียนลงมือจัดทำเอกสารเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ ครูจิ้มก็ให้ความช่วยเหลือในการช่วยจัดทำจนเสร็จสิ้นและส่งผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะวันเดียวกัน คือวันที่ 25 กันยายน 2545


เมื่อคิดจะลงมือทำก็ยังได้กำลังใจจาก ลูกพี่ คือครูมา (ครูมาลินี ช่างพาน) ผู้คอยให้กำลังใจ ให้ความช่วยเหลือในการจัดทำ ครูมา ผู้เขียนจะเรียกขานแทนตัวท่านว่าลูกพี่ เพราะ ท่านเป็นผู้ที่เป็นแบบอย่างในการทำงานและประพฤติตนเป็นครูที่อุทิศตนเพื่อการสอนสอนง่ายเข้าใจง่ายซึ่งวิชาบัญชีเป็นเรื่องที่สอนแล้วเข้าใจได้ยากแต่ครูมาลินีสอนให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่าย อีกทั้งยังติดตามช่วยเหลือแก้ไขนักเรียนนักศึกษาที่มีปัญหาทั้งความประพฤติการเรียนและยังช่วยเหลือด้านทุนการศึกษาที่ขาดแคลนโดยเสมอมา และประการสำคัญคือเป็นผู้อุทิศตนทั้งกำลังกายใจเวลาและบางครั้งกำลังทรัพย์ให้กับสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยเสมอมา ด้วยความดีของครูมาที่ผู้เขียนประทับใจจึงยกย่องให้เกียรติเรียกขานท่านว่า “ลูกพี่” มาตลอด (ในความคิดของข้าพเจ้า ครูมา คือแก้วสารพัดนึกดวงหนึ่งของวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี และขอเอ่ยนามครูอีกท่านหนึ่งที่ทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ กำลังทรัพย์เพื่อสถานศึกษาซึ่งผู้เขียนประทับใจท่านผู้นี้อย่างมากและเนิ่นนาน คือ ครูลุ (ครูบรรลุ บุญเลิศ) ผู้เพียรพยายามพัฒนาภูมิทัศน์ ภาพลักษณ์ของอาคารสถานที่ ให้งดงามน่าชื่นชมอย่างสม่ำเสมอ จะคอยดูแล กำกับในการจัดสถานที่ จัดสวน ปลูกต้นไม้ ให้วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี น่ารื่นรมย์ น่าดู ซึ่งท่านกระทำอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลาเป็นสิบสิบปีและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยในสิ่งที่ท่านทำ ซึ่งผู้เขียนคิดว่าวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรีโชคดีอย่างยิ่งที่บุคลากรทุกระดับทั้งผู้บริหาร ครู เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาแทบทุกท่านเป็นผู้ที่กระทำตนเสียสละเพื่อสถานศึกษาโดยมุ่งหวังให้สถานศึกษามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคมภายนอกโดยทั่วไป)

ยังมีบุคคลอีกบุคคลที่ช่วยสนับสนุนในการจัดทำผลงานทางวิชาการคือ ครูจุ๊ย (ครูพิสุทธิ์ ศิริสุขไพบูลย์) ซึ่งเป็นแนวหน้าในการจัดทำผลงานในการเลื่อนวิทยฐานะรูปแบบใหม่ซึ่งในวิทยาลัยเทคนิคจันทบุรียังไม่เคยมีใครจัดทำมีครูจุ๊ย เป็นคนแรกที่ลงมือทำ ครูจุ๊ย ให้ความช่วยเหลือแนะนำในด้านข้อมูลและแบบฟอร์มรูปแบบต่างๆ ทำให้ผู้เขียนสะดวกรวดเร็วขึ้นมาก

ผู้เขียนมีเวลาเพียง 10 วัน ในการจัดทำผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะจาก ซี 7 เป็น ซี 8 หรือจาก คศ.2 เป็น คศ. 3 นั่นเอง และกำหนดส่งผลงานในวันเกิด คือวันที่ 25 กันยายน 2545 ในการจัดทำฯ ผู้เขียนวางแผนการจัดทำ มีอะไรบ้างที่ต้องทำ เอกสาร เนื้อหา ข้อมูลที่เรามี มีอะไรบ้าง มีอะไรที่ต้องทำเพิ่ม จะขอร้องให้ใครช่วยทำอะไรผู้เขียนโชคดีอีกอย่างคือ พี่สาวของผู้เขียนคือ ครูอรวรรณ ธาราพรรค์ ก็ทำผลงานได้เลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ ผู้เขียนก็อาศัยแนวทางผลงานของพี่สาวมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินการ

เนื่องจากระยะเวลาในการจัดทำที่ผู้เขียนกำหนดไว้เพียง 10 วัน สั้นมาก และผู้เขียนเองก็คิดเพียงทำเอามันเอาสนุกเป็นผลงานที่เพียงให้ได้ทำ ความหวังที่จะได้รับการเลื่อนวิทยฐานะมีไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์ แผนการสอนก็เอาที่ทำจริง สอนจริง ที่ส่งให้ฝ่ายวิชาการตรวจ เพิ่มเติมเพียงแบบทดสอบก่อนสอน หลังสอน และวิเคราะห์ข้อสอบปลายภาคเรียน ปรับปรุงสื่อการสอนที่ส่งประกวดได้รับรางวัลรองชนะเลิศระดับชาติ ให้ทันยุคสมัยสอดคล้องกับแผนการสอน รวบรวมผลงานสารพัดสารพันได้เป็นร้อยหน้า ซึ่งผลงานมีมากมายเนื่องจากหากมีการประกวดผลงานผู้เขียนจะส่งผลงานเข้าประกวดมาอย่างต่อเนื่องร่วม 20 ปี ส่งทั้งตัวเองและของผู้เรียน อาทิได้รับการคัดเลือกเป็นครูผู้ปฏิบัติงานมีผลงานดีเด่นของกรมอาชีวศึกษาภาคตะวันออกและภาคกลาง ครูภาษาไทยดีเด่น อีกทั้งได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ง่ายต่อการจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาเลื่อนวิทยฐานะมีข้อมูลเกินพอที่นำไปใช้ อีกทั้งผู้เขียนมีประสบการณ์มีความชำนาญในการจัดทำเอกสารเข้าประกวดในหลากหลายรูปแบบ ทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากผู้บริหารเพื่อนร่วมงานในการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการรับผิดชอบงานต่าง ๆของสถานศึกษาจำนวนมาก ทำให้มีคำสั่งของสถานศึกษานำมาเขียนเอกสารประกอบการจัดทำสะดวกง่ายดาย และเอกสารต่างๆ และคำสั่งที่ได้รับมอบหมายได้จัดทำแยกเป็นสัดส่วนเป็นรูปเล่มให้ดูง่ายสะดวกในการตรวจพิจารณา ในการจัดทำเอกสารผลงานผู้เขียนใช้เวลาในการจัดทำวัน ๆไม่กี่ชั่วโมง สองทุ่ม สามทุ่มก็นอนแล้ว
ผู้เขียนโชคดีที่มีน้อง ๆ เพื่อน ๆ ให้ความช่วยเหลือในการจัดทำผลงานอาทิ ครูจุ๊ย ครูมา ครูจิ้ม ครูชิต ครูหวัง ฐา ก้อย อ้อย เหมี่ยว ประวิตร ปุ๊ย แป๋ว เก๋ ดวงมณี แจ๊ด และในคืนวันก่อนส่ง มีคนที่มาช่วยกันตรวจทาน ดูรายละเอียด จัดใส่กล่อง ให้กำลังใจเป็น สิบคน ต้องขอขอบคุณทุกคนไว้ ณ โอกาสนี้
ผลงานที่ผู้เขียนเมื่อรวบรวมจัดทำเสร็จ 1 ชุด แทบไม่น่าเชื่อว่าจะมีปริมาณกระดาษที่ใช้เกือบ 1 กล่องกระดาษถ่ายเอกสาร และถ่ายสำเนาจัดทำเป็นรูปเล่มต่างๆ เพื่อส่งอีก 4 ชุด พอถึงวันที่ 25 กันยายน 2545 ผู้เขียนกับเพื่อนครูที่จะส่งผลงานวิชาการก็เดินทางไปส่งผลงานทางวิชาการที่กรมอาชีวศึกษาสมดังตั้งใจที่ทำได้ ที่ได้ทำ ก็เท่านั้นเอง และต่อมาก็มีคำสั่งเลื่อนวิทยฐานะจากซี 7 เป็น ซี 8 หรือปัจจุบัน คือเลื่อนวิทยฐานะครูชำนาญการเป็นครูชำนาญพิเศษ โดยให้ผู้เขียนดำรงวิทยฐานะตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2545 เป็นต้นไป ซึ่งนับเป็นของขวัญวันเกิดอันทรงคุณค่าที่ผู้เขียนได้รับมอบจากกรมอาชีวศึกษา เมื่ออายุครบ 50ปี และอีก 6 ปี ในปี 2551 เงินเดือนผู้เขียนก็ตันไปเรียบร้อย อย่างนี้ต้องเรียกว่า “คศ. 3 เรื่องเหลือเชื่อที่เป็นจริง” ใช่ไหมครับ


เมื่อผู้เขียนคิดย้อนไปถึงคำทำนายของหมอดูหลังกระทรวง ซึ่งตอนแรกไม่ได้เชื่อถือเท่าไรในคำทำนายเรื่องการงาน แต่เมื่อผลออกมาตามคำทำนาย (หมอจ๋าจะดูได้แม่นอะไรปานนั้นวะ) คราวหลังผู้เขียนไปหาหมอดูคนนี้ที่หลังกระทรวงก็ไม่รู้ว่าแกไปตั้งโต๊ะอยู่ที่ไหนแล้ว

การทำผลงานเพื่อเลื่อนวิทยฐานะผู้จัดทำบางคนดูมันง่ายสะดวกสบายดีเหลือเกินผ่านง่าย ๆ ไม่น่าผ่านก็ยังผ่าน บางคนยากลำบากกว่าจะตรวจผ่านทำผ่านได้ก็ยากแค้นแสนสาหัส บางคนเมื่อไม่ผ่านการพิจารณาเลื่อนวิทยฐานะถึงขนาดลาออกจากราชการไปก็มี ผู้เขียนมีประสบการณ์และศึกษาการจัดทำผลงานทางวิชาการ ทั้งมีหน้าที่ไปตรวจผลงานของผู้อื่น ทั้งช่วยตรวจช่วยแก้ผลงานของเพื่อนครู ขอสรุปหัวใจในการทำผลงานการเลื่อนวิทยฐานะไม่มีอะไรมาก ไม่มีอะไรยาก หัวใจมีอย่างเดียว คือ ลงมือทำ แค่เพียงคุณเริ่มลงมือทำ เปิดประตูสู่ความก้าวหน้าให้กับตัวเองไม่รู้ ไม่เข้าใจอะไร เพื่อน ๆ ในสถานศึกษาของท่านที่ได้รับการเลื่อนวิทยฐานะจากครูชำนาญการเป็นครูชำนาญการพิเศษแต่ละสถานศึกษามีจำนวนไม่น้อย สอบถาม ขอดูผลงานที่เพื่อนจัดทำและประสบผลสำเร็จมาเป็นแบบอย่าง อย่าอายที่จะขอความช่วยเหลือ เพียงคุณตั้งใจทำ ไม่ท้อแท้ท้อถอย โอกาสความก้าวหน้าจะเป็นของคุณ อย่างแน่นอน คศ. 3 หรือ แม้แต่ คศ.4 หรืองานอื่น ๆ ที่คุณคิดจะทำ ย่อมไม่เกินความสามารถของคุณและเรื่องเหลือเชื่ออาจจะเกิดกับคุณในความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานหรือในชีวิต เพียงแต่คุณ ลงมือทำ และขออวยพรให้ผู้ส่งผลงานเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะทุกท่านประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการทุกประการ สวัสดีครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

วันนี้ขออนุญาตนำหนังสือของ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 
เกี่ยวกับ แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
มาฝากคุณครูทุกท่าน ดังนี้

แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบพัฒนากระบวนการคิด
ด้วยการใช้คำถามหมวกความคิด 6 ใบ
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และเน้นที่การปฏิบัติ
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา
 
แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้
 

ขอขอบคุณหนังสือดีๆ จาก 
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.)