บ้านครูโน้ต - อบรมคอมพิวเตอร์สำหรับครู วิทยฐานะ สื่อการสอน นวัตกรรมการศึกษา
วิทยฐานะ, สื่อการสอน, ผลงานทางวิชาการ,ครูชำนาญการ,ครูชำนาญการพิเศษ,ครูเชี่ยวชาญ,ครูเชี่ยวชาญพิเศษ,เงินเดือน,เงินเดือนครู,แท่งเงินเดือน

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สรุป 55 รางวัล ที่สามารถยื่นขอให้มีและเลื่อนวิทยฐานเชิงประจักษ์

นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการคณะกรรมการการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า 
จากการประชุมคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมเห็นชอบเรื่องการรับรองรางวัลสูงสุดระดับชาติ เพื่อนำไปใช้ประกอบการประเมินวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ โดยได้อนุมัติให้รางวัลสูงสุดระดับชาติ จำนวน 48 รางวัล แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สถาบันการพลศึกษา และสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน

สำหรับรางวัลทั้ง 48 รางวัล ที่สามารถยื่นขอให้มีและเลื่อนวิทยฐานเชิงประจักษ์ มีดังนี้

  1. รางวัลพระราชทานประเภทสถานศึกษา
  2. รางวัลครูผู้มีอุดมการณ์ตามรอยเกียรติยศ ครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู 
  3. สื่อการสอนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ 
  4. สถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่ ที่มีผลการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น 
  5. โครงงานคุณธรรม "เยาวชนไทยทำดีถวายในหลวง"
  6. รางวัลศิลปหัตถกรรมนักเรียน(เหรียญทองระดับประเทศ)
  7. โครงการประกวดโรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรมจริยธรรม
  8. การแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ 
  9. ครูเจ้าฟ้ากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
  10. รางวัลคุรุสภาเข็มทองคำ "คุรุสภาสดุดี" 
  11. ครูภาษาไทยดีเด่น 
  12. ครูภาษาฝรั่งเศสดีเด่น 
  13. รางวัลประกวดวงโยธวาทิตนักเรียน 
  14. นักศึกษาทุกประเภทที่ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน 
  15. ผู้มีผลงานดีเด่น(มูลนิธิสมาน-คุณหญิงเบญจา แสงมลิ) 
  16. ครูวิทยาศาสตร์ดีเด่น 
  17. ครูภูมิปัญญาไทย 
  18. ครูบุคลากรทางการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา 
  19. ผู้บริหารการศึกษาดีเด่น 
  20. สถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาดีเด่น 
  21. ครูผู้สอนดีเด่น 
  22. โครงการรักชาติถูกทางสร้างเสริมความซื่อสัตย์สุจริต 
  23. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้นแบบ
  24. รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติสังคมแห่งการเรียนรู้ต้นแบบ 
  25. ผลงานวิจัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ
  26. บุคคลดีเด่นในวิชาชีพบรรณารักษาศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ 
  27. ห้องสมุดมีชีวิตประชาชนยอดเยี่ยมระดับประเทศ 
  28. เหรียญลูกเสือสดุดีชั้นที่ 1 
  29. ห้องสมุดประชาชนยอดเยี่ยมระดับประเทศ 
  30. นักประดิษฐ์คิดค้นวิจัยแหล่งเรียนรู้
  31. รางวัลพระราชทาน "เสมาธรรมจักร"
  32. รางวัลพระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติชั้นที่ 1
  33. รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน
  34. รางวัลบุคคลดีเด่นด้านศิลปะสถาปัตยกรรม
  35. รางวัลราชมงคลสรรเสริญผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมสาขาศิลปะ 
  36. การจัดสถานที่เรียนรู้เทคโนโลยีเฉพาะทาง
  37. รางวัลประกวดสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ระดับชาติ
  38. รางวัลการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับชาติ
  39. รางวัลการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เอสโซ่ระดับชาติ
  40. รางวัลการแข่งขัน Cement and Concrete Innovation ระดับชาติ
  41. รางวัลแข่งขันฮอนด้าประหยัดเชื้อเพลิง
  42. รางวัลเขียนแผนธุรกิจ(โครงการอาชีวสร้างสรรค์แปรฝันสู่ธุรกิจ)
  43. รางวัลกรุงไทยยุววานิช
  44. รางวัลการแข่งขันทักษะสมรรถนะด้านเทคนิคอาชีวศึกษา-อีซูซุ ระดับชาติ
  45. รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ ต่อกระทรวงวัฒนธรรมด้านองค์กรที่ส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
  46. รางวัลโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับประเทศ 
  47. รางวัลสุดยอดส้วมระดับประเทศ (ชนะเลิศอันดับ 1 )
  48. รางวัลองค์กรเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย และรางวัลพระราชทาน
  49. โครงการเพชรยอดมงกุฎถ้วยรางวัลพระราชทาน
  50. รางวัลยุวกาชาดดีเด่น (ระดับประเทศ)
  51. รางวัลหนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม
  52. รางวัลโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง
  53. รางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร
  54. เกียรติบัตรงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ชั้นที่ 1
  55. รางวัลผลงานวิจัยของคุรุสภา (ดีเด่นระดับประเทศ)

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

789ร.ร.สพฐ.มีไฟเบอร์ออฟติกใช้

ภาพ : ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ศธ.ประชุมร่วมสำนักพิมพ์เอกชนเตรียมเนื้อหาบรรจุในแท็บเล็ต พร้อมสรุปตัวเลข ร.ร.ของสพฐ.รับแท็บเล็ต ทั้งหมด 24,098 โรง แต่มีไฟเบอร์ออฟติกผ่านหน้าร.ร.แค่ 789 โรง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 55 ที่กระทรวงศึกษาธิการ น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับสำนักพิมพ์เอกชน จำนวน 14 สำนักพิมพ์ อาทิ บริษัท MCGRAWHILL , สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด , บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น , บริษัท อักษรเจริญทัศน์ (อจท.) จำกัด เป็นต้น เพื่อหารือเกี่ยวกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ที่จะบรรจุในคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) ว่า ได้เชิญสำนักพิมพ์มาหารือเพื่อสอบถามถึงความพร้อมในการเตรียมเนื้อหาที่จะบรรจุลงในแท็บเล็ต เพราะขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เตรียมพร้อมเนื้อหาหลักสูตรของชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในรูปแบบ Learning Object และ e-book เพื่อบรรจุลงในแท็บเล็ต ใช้พื้นที่ความจำไปแล้ว 4 กิ๊กกะไบต์ จาก 8 กิ๊กกะไบต์

อย่างไรก็ตาม ระยะยาวนโยบาย ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องการให้ทุกชั้นเรียนได้ใช้แท็บเล็ต เท่ากับว่าในปีการศึกษา 2555 ระดับชั้นอื่น ๆ ตั้งแต่ ป.2-6 และม.1-6 ต้องมีแท็บเล็ตใช้ด้วย โดยเฉพาะระดับมัธยมนั้นเนื้อหาสาระการเรียนมีมากกว่าระดับประถมคาดว่าต้องใช้หน่วยความจำประมาณ 16 กิ๊กกะไบต์ ซึ่ง สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ระบุว่า เนื้อหาสาระที่จะบรรจุแท็บเล็ตระดับประถมศึกษานั้นได้เตรียมพร้อมเรียบร้อยแล้ว ส่วนระดับมัธยมนั้นจะเสร็จเรียบร้อยในเดือนมีนาคมแน่นอน

ทั้งนี้ ได้สอบถามความเห็นเพิ่มเติมเรื่องของลิขสิทธิ์และวิธีการจัดซื้อว่าควรดำเนินการเช่นไร ซึ่งได้ ศธ.เสนอ 4 แนวทาง คือ .

1. ดำเนินการในรูปแบบทีโออาร์ยื่นซองประกวดราคา
2. ให้ดาวน์โหลดจากเซิร์ฟเวอร์ของสำนักพิมพ์
3. ศธ.ทำเซิร์ฟเวอร์กลางและสำนักพิมพ์นำหลักสูตรมาใส่ไว้เพื่อให้โรงเรียนดาวน์โหลด และ
4. สำนักพิมพ์จัดเก็บข้อมูลลงใน SD Card

โดยจากข้อเสนอเหล่านี้ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่ 2 และ 3 พร้อมกันนี้ได้เสนอให้ ศธ.มีการเตรียมการเรื่องระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ความเห็นที่ตรงกันมากที่สุดตนได้สั่งการให้มีการส่งหนังสือไปยังสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อขอให้เสนอแนวทางหรือแผนที่เหมาะสมกลับมายัง ศธ.ภายในวันศุกร์นี้ จากนั้นจะนำมาสรุปเพื่อนำเสนอ รมว.ศธ. ต่อไป

”สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่ตื่นตัวและเตรียมจัดทำหลักสูตรที่พร้อมจะบรรจุในแท็บเล็ตแล้ว ซึ่งหลายแห่งก็รับประกันคุณภาพหลักสูตรที่จะนำมาใช้ รวมทั้งเสนอตัวที่จะช่วยอบรมเตรียมพร้อมให้กับครู ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ด้วยซึ่งจุดนี้ก็สอดคล้องกับแนวทางของ ศธ.ที่จะดำเนินการ นอกจากนี้ ในวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ ที่ ศธ.จะจัดแถลงยุทธศาสตร์ของกระทรวงที่เมืองทองธานี ซึ่งประเด็นสำคัญจะเกี่ยวข้องกับแท็บเล็ตโดยจะเชิญนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานเปิดงาน และในวันดังกล่าวจะเชิญสำนักพิมพ์มาจัดแสดงด้วย”

ปลัด ศธ.กล่าวถึงความคืบหน้าในการสำรวจความพร้อมของสถานศึกษาที่จะได้รับจัดสรรแท็บเล็ตในเดือน พฤษภาคม 2555 นี้ ว่า ขณะนี้ได้จัดแบ่งสถานศึกษาออกเป็น 3 กลุ่มตามความพร้อมซึ่งได้รับรายงานข้อมูลเฉพาะของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า มีโรงเรียนทั้งหมด 24,098 โรง นักเรียนป.1 จำนวน 507,148 คน

แบ่งเป็น กลุ่มที่ 1. กลุ่มที่มีการติดตั้งระบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) เรียบร้อยจำนวน 789 โรง แต่ ศธ.อาจจะต้องประสานกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อติดตั้งกล่องรับสัญญาณเพิ่มเติมสำหรับรองรับการใช้งานของนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ระยะไกล

2. กลุ่มที่มีการใช้ระบบเอดีเอสแอล (ADSL) จำนวน 6,457 โรง ซึ่งส่วนใหญ่ระบบนี้จะเป็นการเชื่อมต่อทางสายโทรศัพท์และนิยมใช้ในห้องคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ศธ.ต้องประสานไอซีทีในการติดตั้งสายเพิ่มเติม และ

3. กลุ่มที่มีการใช้ระบบสัญญาณจานเดียวเทียม หรือ แซทเทิลไลท์ จำนวน 16,652 โรง ซึ่งกลุ่มสนี้ค่อนข้างมีปัญหาในการเชื่อมต่อสัญญาณ อย่างไรก็ตาม เราต้องการข้อมูลของสถานศึกษาทุกสังกัด เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เพื่อจะนำมาจัดวางแผนเพื่อขยายเครือข่ายได้อย่างครอบคลุม

ที่มา ข่าว จาก คมชัดลึก

คัดลอกจาก   http://www.semathong.com

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิทยฐานะใหม่ทำสัญญา



นางศิริพร กิจเกื้อกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ก.ค.ศ.ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ 2 หลักเกณฑ์ คือ

1.มุ่งเน้นผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของผู้ขอรับการประเมิน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนและพิจารณาผลงานทางวิชาการที่ผู้นั้นใช้พัฒนาและแก้ปัญหานักเรียน

2.พิจารณาจากคุณภาพและประโยชน์ของผลงานเด่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งได้รับรางวัลสูงสุดระดับชาติขึ้นไป

โดยทั้ง 2 หลักเกณฑ์ยังมีข้อด้อยที่ควรนำมาแก้ไข เช่น การจ้างทำผลงานทางวิชาการ ครูทิ้งห้องเรียนเพราะมุ่งทำผลงาน ครูได้รับการเลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้นแต่คุณภาพผู้เรียนต่ำลง เป็นต้น
ศธ.จึงมีนโยบายในการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูฯ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการประเมิน โดยก.ค.ศ.มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ดังนี้

1.ให้ข้าราชการครูฯ เสนอข้อตกลงในการพัฒนางาน ซึ่งจะต้องครอบคลุมถึงการปฏิบัติงาน และผลที่แสดงถึงการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน เป็นต้น ทั้งนี้ จะต้องกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดในการพัฒนาที่ชัดเจน

2.ให้ราชการต้นสังกัดคัดกรองข้าราชการครูฯ ผู้ที่จะเสนอข้อตกลงในการพัฒนางานเช่น กำหนดว่าต้องทำงานในสถานศึกษาที่มีผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย หรือเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด หรือคัดกรองจากผู้ที่เสนอโครงการในการพัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ เป็นต้น

3.กำหนดให้มีการประเมินคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ กระบวนการและผลที่เกิดจากการทำงาน มุ่งเน้นวิธีการประเมินตามจริง ณ สถานที่ทำงานและกำหนดระยะเวลาในการประเมิน เป็นระยะๆ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ในแต่ละวิทยฐานะดังนี้ วิทยฐานะชำนาญการ ใช้ระยะเวลาประเมิน 2 ปี วิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป ใช้เวลา 3 ปี

4.เน้นการมีส่วนร่วมในการประเมิน

5.ก.ค.ศ.หรือส่วนราชการที่ก.ค.ศ.มอบหมายจะเป็นผู้ประเมินเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนด

            หลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ระหว่างยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการ ซึ่งคาดว่าการประเมินวิทยฐานะตามแนวทางนี้ จะสามารถแก้ปัญหาที่ผ่านมาได้และจะเป็นปัจจัยในการเสริมคุณภาพการศึกษา



ที่มา : ข่าวสด ฉบับวันที่ 19 ม.ค. 2555
คัดลอกมาจาก : http://www.sobkroo.com/detail_room_index.php?nid=5576